วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551



บทที่ 5 ซอฟต์แวร์
แบบฝึกหัดบทที่ 5
1. จงบอกความหมายของซอฟต์แวร์
ตอบ ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำตาม ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่มนุย์จัดทำขึ้นและคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลัษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
2. อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ประมวลคำนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3 ข้อ
ตอบ 1.ความสามารถในการค้นหาข้อความ หรือคำ ที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถค้นหาข้อความหรือคำและแทนที่ด้วยข้อความหรือคำใหม่ได้โดยอัตโนมัติ ตลอดจนการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลก็ทำได้โดยง่ายและสะดวก เพียงแต่ทราบชื่อไฟล์และตำแหน่งที่จัดเก็บก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ได้โดยสะดวกรวดเร็วไม่ยุ่งยากเหมือนกับการค้นหาและเรียกใช้งานเอกสารธรรมดา ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.สร้างตารางและกราฟได้ และสามารถเติมรูปภาพให้กับเนื้อหาที่พิมพ์ได้
3.การจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์ขึ้นด้วยกระดาษนั้นอาจจะเกิดการสูญหาย หรือฉีกขาดได้ง่าย แต่การจัดเก็บเอกสารในรูปของไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ครบถ้วน ตราบเท่าที่สื่อที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น ดิสก์เกตต์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี ฯลฯ อยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์
3. ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่อะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลเก็บไว้ในส่วนใดของหน่วย ความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งานหรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก
4. จงอธิบายลักษณะของซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะทาง
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์ (programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
1) ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
2) ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง ระบบงานควบคุมสินค้าแบบจำนวนและรายชิ้น และระบบงานประวัติการขาย
3) ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุม การทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต
4) ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
5. อธิบายประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวในบทเรียนมา 3ข้อ
ตอบ 1. สามารถสร้างข้อมูลที่ต้องการนำเสนอเป็นตารางเพื่อสะดวกในการนำเสนอข้อมูล
2. สามารถคำนวณข้อมูลเป็นตัวเลขได้
3. สามารถใช้คำนวณข้อมูลทางสถิติได้

6. จงบอกประโยชน์ของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ตอบ ประโยชน์ คือ จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ช่วยหลีกเลี่ยงความซับซ้อนของข้อมูลที่จะเกิดขึ้น ช่วยขจัดความขัดแย้งของข้อมูลและสามารถกำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
7. แอสเซมบลีเป็นภาษาระดับใด และมีลักษณะอย่างไร
ตอบ แอสเซมบลีเป็นภาษาระดับต่ำ ภาษาแอสเซมบลีมีลักษณะคำสั่งที่ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานและมีการแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง
8. ตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องมี 9 ประเภท ได้แก่
1.ภาษาฟอร์แทรน
2.ภาษาโคบอล
3.ภาษาเบสิก
4.ภาษาปาสคาล
5.ภาษาซีและซีพลัสพลัส
6.ภาษาวิชวลเบสิก
7.การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ
8.ภาษาจาวา
9.ภาษาเดลฟาย
บทที่ 6 หลักการแก้ปัญหากับภาษาคอมพิวเตอร์
แบบฝึกหัดบทที่ 6
1. ให้นักเรียนวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาต่อไปนี้
1.1 การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ เมื่อสูตรในการคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยม คือ 1/2 x ความสูง x ฐาน
ตอบ 1) การระบุข้อมูลเข้า (Input) คือ ความสูง และค่าความยาวฐาน
2) การประมวลผล (Process) คือ นำข้อมูล ความสูง และค่าความยาวฐาน มาแทลงใน 1/2 x ความสูง x ฐาน
3) การระบุข้อมูลออก (Output) คือ จากโจทย์คำตอบของปัญหาคือ พื้นที่คือ รูปสามเหลี่ยม
1.2 การคำนวณหาจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากแบบประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8ต่อปี เมื่อนายสมชายฝากเงินครบ 5 ปี ด้วยเงินต้นครั้งแรกจำนวน 1000 บาท
ตอบ 1) การระบุข้อมูลเข้า (Input) คือ สมชายฝากเงินครั้งแรกจำนวน 1000 บาท , สมชายฝากเงินครบ 5 ปี และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8ต่อปี
2) การประมวลผล (Process) คือ ดอกเบี้ย 8% ต่อปี
ปีแรก ได้ 1000 x 8/100 = 80 เงินในบัญชีปีแรก = 1,080
ปีที่ 2 ได้ 1080 x 8/100 = 86.40 เงินในบัญชีปีที่ 2 = 1080 + 86.40= 1,166.40
ปีที่ 3 ได้ 1166.40 x 8/100 = 93.30 เงินในบัญชีปีที่ 3 = 1166.40 + 93.30 = 1,259.70
ปีที่ 4 ได้ 1259.70 x 8/100 = 100.80 เงินในบัญชีปีที่ 4 = 1259.70 + 100.80 = 1360.50
ปีที่ 5 ได้ 1360.5 0x 8/100 = 108.80 เงินในบัญชีปีที่ 5 = 1360.50 + 108.80 = 1469.30
เพราะฉะนั้น y = 1469.50 บาท หรือ นายสมชายมีเงินในบัญชีธนาคารเมื่อครบ 5 ปี คือ 1469.50 บาท
3) การระบุข้อมูลออก (Output) คือ จากโจทย์คำตอบของปัญหาคือ นายสมชายมีเงินในบัญชีธนาคารเมื่อครบ 5 ปี คือ 1469.50 บาท
1.3 การคำนวณเกรดวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก้นักเรียนชั้นมัธยศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน โดยกำหนดให้คะแนนเต็มในการเก็บคะแนนและการสอบทั้งหมด ของวิชานี้คือ 100 คะแนน กฎเกณฑ์ในการให้เกรด คือ
- นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 70-79 คะแนน ได้เกรด 3
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 60-69 คะแนน ได้เกรด 2
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 50-59 คะแนน ได้เกรด 1
- นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ได้เกรด 0
ตอบ 1.การระบุข้อมูลเข้า (Input) คือ จำนวนนักเรียน 30 คน,คะแนนเต็ม 100 คะแนน ,และ กฎเกณฑ์ในการให้เกรด คือ
- นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 70-79 คะแนน ได้เกรด 3
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 60-69 คะแนน ได้เกรด 2
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 50-59 คะแนน ได้เกรด 1
- นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ได้เกรด 0
2. การประมวลผล (Process) คือ ต้องนำคะแนนที่ได้จากการสอบวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปเทียบ กับ เกณฑ์ในการให้เกรด คือ
- นักเรียนที่ได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ได้เกรด 4
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 70-79 คะแนน ได้เกรด 3
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 60-69 คะแนน ได้เกรด 2
- นักเรียนที่ได้คะแนนระหว่าง 50-59 คะแนน ได้เกรด 1
- นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ได้เกรด 0
3. การระบุข้อมูลออก (Output) คือ จากโจทย์คำตอบของปัญหาคือ เกรดวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยศึกษาปีที่ 4
2. จากปัญหาในข้อ 1 ให้นักเรียนเขียนผังงาน เพื่อแสดงขั้นตอน วิธีในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ
ตอบ
1.ปัญหาการหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดใด

2.นายสมชายมีเงินในบัญชีธนาคารเมื่อครบ 5 ปี

3.เกรดวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยศึกษาปีที่ 4


3. หากนักเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรมคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนจะเลือกใช้ภาษาปาสคาล ภาษาจาวา หรือภาษาเดลฟายในการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เพราะเหตุใด
ตอบ ภาษาปาสคาล เพราะว่าเป็นภาษาในกลุ่มโปรแกรมแบบโครงสร้าง ซึ่งมุ่งเน้นให้มีการแบ่งโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อยๆชัดเจนจากนั้นจึงค่อยเชื่อมโยงทำให้สามารถจัดการได้โดยง่าย ภาษปาสคาลจึงเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับสร้างพื้นฐานความคิดในการเขียนโปรแกรมโครงให้แก่นักเรียน สามารถให้ทักษะในการเขียนโปรแกรมอย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้อง และสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น: